ก้อนแรก คือ "สินสอด"
ทรัพย์แบบไหนได้มาแล้วต้องเสีย และใคร? มีหน้าที่ เสีย "ภาษีมรดก"
สัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยครึ่งหลังปี 66 กลยุทธ์ลงทุนแนะถือเงินสดไว้ก่อน
สินสอด ถือเป็นด่านแรกของการแต่งงาน จุดเริ่มต้นฝ่ายเจ้าบ่าวควรเอ่ยปากถามฝ่ายเจ้าสาวให้ชัดเจน ซึ่งคำตอบของจำนวนเงินสินสอดที่เหมาะสมนั้นไม่มีคำตอบตายตัว มีแค่คำตอบว่าทั้งสองฝ่ายจะ “พอใจ” หรือไม่
เพราะความรักไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงินนี่นา แต่อย่างไรก็ตามวิธีง่ายๆ แบบบ้านๆ คือ ฝ่ายชายบอกจำนวนเงินที่สู้ไหว! ให้กับครอบครัวเจ้าสาว ตรงๆ ไปเลย
เมื่อตกลงกันชัดเจนแล้ว ต่อมา คือ การวางแผนหาเงินเพิ่มเพื่อให้ถึงจำนวนสินสอดที่ต้องการ และเงินนี้หายหรือนำไปใช้ไม่ได้เด็ดขาด
เพราะเป็นเงินก้อนแรกที่ฝ่ายชายต้องนำมาวางต่อหน้าผู้ใหญ่ เพื่อเป็นหน้าเป็นตาให้กับฝ่ายเจ้าสาว ในระหว่างที่เก็บเงิน อาจเลือกหาผลิตภัณฑ์การออมที่ให้ดอกเบี้ยมากกว่าบัญชีออมทรัพย์ สภาพคล่องสูงและสามารถถอนออกมาได้ทันท่วงที
ก้อนที่สองคือ งบประมาณการจัดงาน
ก้อนนี้ถ้าให้แฟร์ควรช่วยกันเตรียมทั้ง 2 ฝ่าย อาจตั้งงบประมาณไว้ก่อนตั้งแต่หลักหมื่นปลายๆ จนถึง แสนต้นๆ ไปจนถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับความต้องการและฐานะทางการเงินของครอบครัวของทั้งคู่ซึ่งมักจะแปรผกผันกันอยู่บ่อยๆ เพราะเมื่อถึงเวลาแต่งงานทั้งที ก็อยากจะจัดเต็มที่ให้สมกับที่เป็นครั้งหนึ่งในชีวิต แต่กลับต้องหยุดคิดและเลิกฝัน เมื่อเห็นตัวเลขในบัญชี
หากตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น
- ค่าใช้จ่ายเตรียมก่อนวันจัดงาน ประมาณ 50,000 บาท เช่น ค่าดูฤกษ์ยาม ค่าการ์ดเชิญ ถ่ายภาพ ของชำร่วย ฯลฯ
- ค่าใช้จ่ายงานหมั้น (เช้า) ประมาณ 150,000 บาท ได้แก่ ค่าชุดพิธีการ สถานที่ แหวนหมั้น แต่งหน้าทำผม ทำพิธีกรรม ทางศาสนา
- ค่าใช้จ่ายงานแต่ง (เย็น) ประมาณ 500,000 บาท ได้แก่ ค่าโต๊ะจีน ค่าชุดงานแต่งงาน ของหน้างาน นักร้อง วงดนตรี พรีเซ้นเตชั่น และสำรองเพื่อเหลือเผื่อขาด
เมื่อคำนวณงบประมาณทั้งหมดแบบคร่าวๆ คือ 700,000 บาท
หลายคู่หวังผลจากซองช่วยงานแต่อย่าคิดแบบนั้น ให้พยายามวางแผนร่วมกันให้ที่สบายใจ ไม่เป็นหนี้ เพราะอาจจะก่อหนี้และภาระอื่นๆ ตามมาในระยะยาว หรือให้ความยืดหยุ่นสามารถปรับเพิ่มหรือลดงบประมาณได้
โดยมีเคล็ดลับอยู่ตรงที่คู่รักทั้งสองคน ต้องตกลงความต้องการกันให้ดีเสียก่อน เพื่อจะได้หาจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องใช้ในการแต่งงานให้ครบ เมื่อได้ตัวเลขที่ต้องการแล้ว ให้ลองเอาตัวเลขไปคำนวณ โดยให้นำจำนวนเงินที่ต้องการ หารด้วยระยะเวลาที่เหลืออยู่ก่อนจะจัดงานแต่งงาน เพื่อให้ได้จำนวนเงินที่เราต้องเก็บโดยประมาณต่อเดือน
เงินก้อนที่ 3 สำคัญที่สุด ซึ่งอาจเริ่มวางแผนการมีลูกไปพร้อมๆ กันได้
เงินก้อนนี้เป็นเงินที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของครอบครัวใหม่ที่กำลังจะมาถึง เรียกได้ว่า คุณภาพชีวิตจะดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับเงินก้อนนี้ก้อนเดียว เพราะเงินที่เอาไว้ใช้หลังแต่งงาน คือเงินที่ใช้ในการเริ่มต้นครอบครัวหลังจากวันที่ทั้งสองคนกลายมาเป็นคนๆ เดียวกัน
ย่อมค่าใช้จ่ายใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นจากคนที่ไม่เคยอยู่ร่วมกันกลับต้องมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกัน จึงทำให้ช่วงเวลานี้ควรเป็นช่วงเวลาที่ทั้งคู่ต้องช่วยกันประหยัดเงินและสร้างเนื้อสร้างตัวไปด้วยกัน
ดังนั้น วิธีการวางแผนสำหรับเงินก้อนสุดท้ายนี้ ควรเริ่มต้นจากการสร้างวินัยในการออมเพื่ออนาคตของทั้งสองคนไปพร้อมๆ กัน เช่นใช้วิธีฝากเงินเท่าๆ กันทุกเดือนในบัญชีเงินฝากระยะยาวที่ให้ดอกเบี้ยสูง หรือถ้ารับความเสี่ยงได้มาก ก็อาจจะเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นอีกต่อหนึ่ง ซึ่งการจัดการในเรื่องนี้ก็แล้วแต่ว่าคู่ไหนจะตกลงกันอย่างไร
เรียบเรียงจาก : STORIES & TIPS ธนาคารไทยพาณิชย์คำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
เปิดความหมาย "ดอกกุหลาบ" และ 40 ความหมายดอกไม้รับ "วันวาเลนไทน์"
104 แคปชัน-คำอวยพร วาเลนไทน์ 2567 ประโยคเด็ดบอกสถานะ โสด มีคู่ อกหัก
ทำความเข้าใจกฎหมาย “ครอบครองปรปักษ์” ก่อนสูญเสียที่ดินให้คนอื่นไม่รู้ตัว