13 กุมภาพันธ์ “วันรักนกเงือก” ตัวแทนแห่งรักแท้และความสมบูรณ์ของผืนป่า
พระแม่ลักษมีเป็นอะไรกับพระพิฆเนศ ไขข้อสงสัยทำไมคนนิยมบูชาคู่กัน
“คเณศชยันตี” เป็นเทศกาลหนึ่งในศาสนาฮินดู ที่ผู้คนจะออกมาเฉลิมฉลองกัน เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของพระพิฆเนศ มหาเทพแห่งศิลปะ สติปัญญา และความสำเร็จ ซึ่งในปีนี้ตามปฏิทินฮินดูตรงกับ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567
สมัยก่อนผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในองค์พระคเณศ จะนำเอาดินผสมเครื่องหอมปั้นเป็นองค์พระคเณศขึ้นมาเพื่อบูชา และจะถวายขนมลาดู (ขนมโปรดของพระองค์) พร้อมกับสวดมนต์ โดยจะทำการบูชาอยู่ทั้งหมด 4 วันจนครบ จึงนำเอาเทวรูปที่ปั้นมานั้นไปลอยส่งเสด็จ ถือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีบูชาพระคเณศในช่วงคเณศชยันตี
อย่างไรก็ตามด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยน วิธีการกราบสักการะบูชาองค์พระคเณศในวันสำคัญนี้จึงเปลี่ยนตามไปด้วย แต่แก่นแท้ของการกราบสักการะบูชานี้คือเพื่อแสดงความเคารพและนำมาซึ่งความสงบสู่จิตใจ อันเป็นการสร้างสติปัญญาและสิริมงคลให้กับชีวิต ดังนั้นแล้วต้องทำอย่างไร เราได้นำข้อมูลมาฝากกันดังนี้
“วันคเณศชยันตี-คเณศจตุรถี” วันประสูติที่เหมือนกัน แต่ต่างเวลา
ก่อนอื่น เชื่อว่าผู้เคารพและศรัทธาต่อพระพิฆเนศ อาจสงสัยว่าวันประสธูติของพระคเณศ จะมี 2 วันที่น่าจดจำในการบูชา คือ “วันคเณศชยันตี” และ “วันคเณศจตุรถี” แท้จริงแล้วในวันสำคัญทั้งสองนี้ เป็นวันประสูติเหมือนกันจริง แต่ต่างกันที่ช่วงเวลา โดยมีเรื่องเล่าขานว่า
วันคเณศชยันตี จะตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ ตามปฏิทินฮินดู ในช่วงกลางเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นวันคล้ายวันประสูติของพระพิฆเนศ แต่องค์ท่านต้องอวตารมาปราบอสูรสองพี่น้องผู้มีฤทธิ์มาก นามว่า “เทวานฺตกะ”และ“นรานฺตกะ”
ซึ่งทั้งสองได้บำเพ็ญพรตจนได้รับพรจากพระศิวะว่า ขอไม่ให้ตายด้วยน้ำมือเทวดากษัตริย์ยักษ์รากษัสปิศาจมนุษย์นาคคนธรรพ์นางอัปสรกินนรรวมไปถึงศาสตราวุธคมหอกคมดาบทุกชนิดสัตว์ร้ายในป่าสัตว์ที่เลี้ยงตามหมู่บ้านภูติผีดาวนพเคราะห์ดาวนักษัตรอีกทั้งไม่ตายจากโรคภัยไข้เจ็บพยาธิและแมลงทุกชนิดและไม่มีวันตายทั้งในกลางวันและกลางคืน
หลังอสูรทั้งสองได้รับพร ก็กลับกลายเป็นคนเกเร เข้าทำสงครามบุกยึดโลกต่างๆ จนไปถึงเทวโลก เทวดาและฤาษีต้องหลบซ่อนไปอยู่ในโถงถ้ำนานวันเข้าฝ่ายกองทัพอสูรได้ทำลายศาลาและสถานที่บูชาเทพบนโลกจนเกือบหมดสิ้นเมื่อเทวดาเริ่มอ่อนพลังลงเพราะไม่มีพละกำลังไม่การบูชาไม่มีการท่องมนตร์
ฝ่ายพรหมเทพจึงดำริถึงองค์พระมหาคณาธิปติ(พระพิฆเนศ)อวตารมาแก้ไขสถานการณ์ได้ในที่สุดซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 10 ตามปฏิทินฮินดู ซึ่งอยู่ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมและกันยายน
คาถาไหว้พระพิฆเนศ
“โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา” (สวด 9 หรือ 108 จบ)
“โอม กัง คณปัตเย นะโม นะมะหะ
ศรี สิทธิวินายักกา นะโม นะมะหะ
อัสถะวินายักกา นะโม นะมะหะ
คณปติ บับปา โมรยา”
จากนั้นตั้งจิตอธิษฐานขอพร แล้วจบด้วย “โอม ศานติ ศานติ ศานติ” เพื่อแผ่เมตตาให้ผู้อื่น
เครื่องสักการะบูชา
- ประทีป (เทียน)
- กำยาน/ธูป (กี่ดอกก็ได้ เพราะกลิ่นของกำยานและธูป เป็นเพียงการสื่อจิตอธิษฐานไปยังองค์มหาเทพ)
- ดอกไม้/พวงมาลัย
- ผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า, มะพร้าวอ่อน, ส้ม, แอปเปิ้ล หรือ องุ่น เป็นต้น
- ปัญจอมฤต (น้ำมงคล 5 อย่าง) ได้แก่ น้ำสะอาด, นมจืด, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อย และ เนย (ฆี)
- ขนม เช่น ขนมลาดู ขนมโมทกะ
- ห้ามถวายเนื้อสัตว์
ขั้นตอนการบูชา
1.) ตื่นเช้ามาให้ยิ้มแย้ม
2.) แนะนำให้ใส่เสื้อสีแดง (ถ้ามี)
3.) จุดประทีปและธูปบูชาหน้าพระพิฆเนศ
4.) สวดมนตรา 9 หรือ 108 จบ
5.) ถวายเครื่องสักการะบูชา (ตามกำลัง)คำพูดจาก สล็อตวอเลท
6.) เก็บของไหว้ไว้รับประทาน หรือนำไปแจกจ่ายให้กับคนที่เรารัก
7.) ทำอารตี (พิธีบูชาไฟ) ในช่วงเย็น เพื่อรับความสงบในจิตใจ
8.) การอาบน้ำในวันคเณศชยันตี แล้วสวดถึงพระองค์ไปด้วย ชาวฮินดูเชื่อว่าจะนำมาซึ่งความสงบในจิตใจและความเจริญในหน้าที่การงาน
ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการกราบสักการะบูชาพระพิฆเนศ ต้องทำจิตใจให้สะอาด ปราศจากกิเลส ละทิ้งความโกรธ ความหลง ถ้าทำสิ่งเหล่านี้ได้ นอกจากจะได้รับอานิสงส์ดีๆ แล้ว ยังทำให้มีสติช่วยในการดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง
รวมสถานที่ไหว้พระพิฆเนศ
- เทวาลัยพระพิฆเนศ สี่แยกรัชดา – ห้วยขวาง กทม.
- วัดวิษณุ (สมาคมฮินดูธรรมสภา) กทม.
- วัดเทพมณเฑียร (สมาคมฮินดูสมาช) กทม.
- เทวาลัยพระพิฆเนศ บางใหญ่ จ.นนทบุรี
- วัดสมานรัตนาราม จ.ฉะเชิงเทรา
- วัดโพรงอากาศ จ.ฉะเชิงเทรา
- อุทยานพระพิฆเนศองค์ยืน คลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา
- อุทยานพระพิฆเนศ จ.นครนายก
- พิฆเนศวรเทวาลัย จ.เชียงใหม่
9 สถานที่ไหว้ “พระพิฆเนศ” ยอดนิยมในกรุงเทพและต่างจังหวัด
ปี 2567 เจอ 5 สัปดาห์ทุกเดือน แถมบางเดือนยังยาว 6 สัปดาห์!
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตามรอยซอฟต์พาวเวอร์ เปิดตัว กางเกง “กะปิปลาร้า”
ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ ไวทิทรศน