นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้นำกรมการค้าภายใน สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (จีไอที) และสำนักงานเลขาธิการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ออกตรวจสถานการณ์ทองคำ หลังปัจจุบันราคาทองคำเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แตะบาทละกว่า 37,500 บาท จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มิจฉาชีพ รวมทั้งร้านค้าออนไลน์บางแห่ง ใช้โอกาสนี้หลอกขายทองคำปลอมในรูปแบบต่างๆ อาทิ ทองเกรดเอ, ทองไมครอน, ทองโคลนนิ่ง, ทองยัดไส้ รวมถึงทองรูปพรรณ
ทั้งนี้ มีการนำเทคนิคใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อให้ทองคำปลอมมีความใกล้เคียงกับทองคำจริงมากที่สุด และไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า รวมถึงการใช้เครื่องมือตรวจสอบที่มีขนาดเล็ก ซึ่งกระทบร้านค้าที่รับซื้อทองคำ โรงรับจำนำ รวมถึงทำให้ผู้บริโภคเกิดความหวั่นวิตกในการเลือกซื้อทองคำ โดยเฉพาะทองคำแท่ง ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา มีการร้องเรียนการหลอกซื้อขายทองคำปลอม ทั้ง ทองคำแท่ง และทองรูปพรรณ ในปี 66 พุ่งสูงกว่า 1,600 คดีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการ จีไอที กล่าวว่า ส่วนใหญ่ คนไทยซื้อทองเก็บสะสมเป็นสินทรัพย์ ดังนั้นก่อนเลือกซื้อให้พิจารณา และสังเกตที่ทองคำ หรือทองรูปพรรณ ว่ามีตราสัญลักษณ์ร้านค้าที่เลือกซื้อหรือไม่ มีการประทับตัวเลขที่บอกมาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำที่ตอกไว้หรือไม่ เช่น Gold 965 และยังต้องสังเกตรายละเอียดต่างๆ รายรอบเพิ่มเติมด้วย อาทิ น้ำหนัก ขนาด และ รอยต่อต่างๆคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้ หากเป็นร้านขายทองคำ ควรใช้การตะไบเข้าไปในเนื้อทองคำ เพื่อเช็กดูว่ามีการสอดไส้หรือไม่ และปัจจุบันได้มีการนำธาตุใหม่ๆ เข้ามาผสมกับทองคำ เช่นธาตุรีเนียมและทังสเตน ซึ่งไม่สามารถใช้เทคนิคพื้นฐาน เช่น หยดกรด การเผาไฟ หากต้องการผลการตรวจสอบที่แน่ชัด แนะนำให้นำมาตรวจสอบกับจีไอที เนื่องจากเป็นห้องปฏิบัติการตรวจสอบ ที่มีเครื่องมือขั้นสูง ที่สามารถตรวจสอบได้อย่างชัดเจน อย่างเช่น คลื่นอัลตราโซนิก ซึ่งไม่ทำลายชิ้นงาน
นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ผู้บริโภคที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อทองคำ ทั้งในด้านราคาและปริมาณสินค้าหรือบริการ สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 และกรณีไม่ปิดป้ายแสดงราคา มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท กรณีจำหน่ายสินค้าราคาสูงเกินสมควรหรือมีการกักตุนสินค้าหรือปฏิเสธการจำหน่าย ต้องโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท
ส่วนกรณีใช้เครื่องชั่งโดยไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมการค้าภายในมีโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท และกรณีมีการดัดแปลงส่วนประกอบของเครื่องชั่งตวงวัด มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 280,000 บาท